วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Cry - Mandy Moore "Cry "


I'll always remember

ฉันจะยังคงจำได้เสมอ
It was late afternoon

มันเป็นตอนบ่ายกว่าๆ
It lasted forever

มันจะเป็นเช่นนั้นตลอดไป
And ended so soon

และจบลงอย่างรวดเร็ว
You were all by yourself

คุณในตอนนั้นอยู่โดดเดี่ยวกับตัวเอง
Staring up at a dark gray sky

ดวงดาวส่องประกายบนท้องฟ้าสีเทาอันมืดมิด
I was changed

ฉันได้เปลี่ยนไป

In places no one will find

ในที่ๆไม่มีใครจะพบ
All your feelings so deep inside (deep inside)

ความรู้สึกทั้งหมดของคุณนั้นอยู่ลึกๆข้างใน (ลึกๆข้างใน)
It was then that I realized

มันเป็นเช่นนั้น ฉันเข้าใจแล้ว
That forever was in your eyes

ว่า ความเป็นนิรันดรในดวงตาคุณ
The moment I saw you cry
ช่วงเวลาที่ฉันเห็นคุณร้องไห้



The moment that I saw you cry
ช่วงเวลาที่ฉันเห็นคุณร้องไห้


It was late in September

มันเป็นช่วงเดือนกันยายน
And I've seen you before (and you were)

และฉ้นเคยพบคุณมาก่อน (และตอนนั้นคุณ)
You were always the cold one

คุณเป็นคนที่เย็นชาเสมอคนหนึ่ง
But I was never that sure

และฉันไม่เคยมั่นใจขนาดนั้น
You were all by yourself

ว่าคุณอยู่กับตัวเองตามลำพัง
Staring up at a dark gray sky

ดวงดาวส่องประกายบนท้องฟ้าสีเทาอันมืดมิด
I was changed

ฉันได้เปลี่ยนไป
In places no one will find


ในที่ๆไม่มีใครจะพบ
All your feelings so deep inside (deep inside)

ความรู้สึกทั้งหมดของคุณนั้นอยู่ลึกๆข้างใน (ลึกๆข้างใน)
It was then that I realized

มันเป็นเช่นนั้น ฉันเข้าใจแล้ว
That forever was in your eyes

ว่า ความเป็นนิรันดรในดวงตาคุณ
The moment I saw you cry
ช่วงเวลาที่ฉันเห็นคุณร้องไห้



I wanted to hold you

ฉันอยากที่จะโอบกอดคุณ
I wanted to make it go away

ฉันอยากที่จะทำให้มันหายไป
I wanted to know you

ฉันอยากที่จะรู้จักคุณ

I wanted to make your everything, all right....

อยากที่จะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างของคุณถูกต้อง

I'll always remember...

ฉันจะยังคงจำได้เสมอ
It was late afternoon

มันเป็นตอนบ่ายกว่าๆ
In places no one would find...
ในสถานที่ที่ไม่มีใครพบเห็น

In places no one will find

ในสถานที่ที่ไม่มีใครพบเห็น
All your feelings so deep inside (deep inside)

ความรู้สึกทั้งหมดของคุณนั้นอยู่ลึกๆข้างใน (ลึกๆข้างใน)
It was then that I realized

มันเป็นเช่นนั้น ฉันเข้าใจแล้ว
That forever was in your eyes

ว่า ความเป็นนิรันดรในดวงตาคุณ
The moment I saw you cry
ช่วงเวลาที่ฉันเห็นคุณร้องไห้

วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552

นี่ตัวฉัน



นางสาว กนกวรรณ กิจสมสาตร์

ชื่อเล่น "ลูกเกด"

ที่อยุ่.... 97 ม.6 ต.หนองสาหร่าย อ. ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี 72170

HBD. วันจันทร์ ที่ 15 พฤศจิกายน 2536

อาหารที่ชอบ....ต้มยำกุ้ง ส้มตำ

สีที่ชอบ....ชมพู,ฟ้า
สัตว์ที่ฉันรัก.....สุนัข แมว

ลักษณะนิสัย....โกรธง่ายหายเร็ว ร่าเริง เฮฮา ไม่ชอบคนหยิ่ง

รักมากที่สุด......ครอบครัวของฉัน เพื่อนๆๆๆ
การ์ตูนที่ชอบ.....หมีพู
คติ...ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

มอไซค์ หนักที่สุดในโลก

ข่าวแปลก จากเยอรมัน เมื่อมีผู้ประดิษฐ์ มอเตอร์ไซค์ โดยใช้เครื่องยนต์จากรถถังรัสเซีย จนทำให้ มอเตอร์ไซค์ คันนี้ได้ขึ้นชื่อว่าเป็น มอเตอร์ไซค์ ที่หนักที่สุดในโลก เพราะแค่เครื่องยนต์อย่างเดียวก็ปาไปเกือบ 2 ตันแล้ว


รถจักรยานยนต์ขนาดยักษ์ ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์รถถังรัสเซีย ได้รับการยกนิ้วให้เป็น "โคตะระมอเตอร์ไซค์" น้ำหนักมากที่สุดบนผืนพิภพ ตีโล นีเบอร์ อายุ 39 ปี ชาวเยอรมัน ผู้ประดิษฐ์นวัตกรรมบันลือโลกชิ้นนี้ ตั้งชื่อมันว่า "Led Zeppelin" กล่าวว่า "รับรองคุณไม่เคยเห็นรถเครื่องคันไหนหนักปานนี้แน่ เพราะน้ำหนักชั่งได้ถึงสี่ตันครึ่ง หนังสือกินเนสส์ บุ๊ก ออฟ เรกคอร์ด บันทึกในสารบบรถจักรยานยนต์หนักที่สุดในโลกแล้ว" ลำตัวรถ เลด เซปเปลิน ยาว 17 ฟุต 4 นิ้ว สูง 7 ฟุต 6 นิ้ว เฉพาะเครื่องยนต์อย่างเดียวเมื่อถอดเอาเกราะเหล็กและห้องเครื่องรถถังออกก็หนักปาเข้าไป 1.8 ตัน ทีมช่างเชื่อมและช่างเครื่องกลใช้เวลาสร้างเกือบหนึ่งปีที่โรงงานฮาร์เซอร์ ไบค์ ชมีด เมืองซีลลี่ เยอรมนี ขณะนี้รอเพียงใบอนุญาตให้ขับแล่นอวดโฉมบนท้องถนนเท่านั้น น่าห่วงอีตรง... คงขับยากและหากล้มครืนลง คงยกขึ้นตั้งยากมหายากส์พิลึก?

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

โดราเอม่อน



โดราเอมอน (ญี่ปุ่น: ドラえもん Dora'emon โดะระเอะมง ?) หรือ โดเรมอน เป็น การ์ตูนญี่ปุ่น แต่งโดย ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ เรื่องราวของหุ่นยนต์แมวหูด้วน ชื่อ โดราเอมอน โดยฟูจิโกะ ฟูจิโอะ ได้กล่าวว่าโดราเอมอนเกิดวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2112 มาจากอนาคตเพื่อกลับมาช่วยเหลือโนบิตะ เด็กประถมจอมขี้เกียจด้วยของวิเศษจากอนาคต โดราเอมอนเริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2513 โดยสำนักพิมพ์โชงะกุกัง โดยมีจำนวนตอนทั้งหมด 1,344 ตอนต่อมาในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดราเอมอนได้รับรางวัล Tezuka Osamu Cultural Prize ครั้งที่ 1 ในสาขาการ์ตูนดีเด่น อีกทั้งยังได้รับเลือกจากนิตยสารไทม์เอเชีย ให้เป็นหนึ่งในวีรบุรุษของทวีปเอเชีย จากประเทศญี่ปุ่น จากนั้นในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดราเอมอนก็ได้รับเลือกให้เป็นทูตสันถวไมตรีเพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้บริษัทบันได ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าการ์ตูนที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ยังได้ผลิตหุ่นยนต์โดราเอมอนของจริงขึ้นมาในชื่อว่า "My โดราเอมอน" โดยออกวางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552
ในประเทศไทย โดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนมีการตีพิมพ์โดยหลายสำนักพิมพ์ในช่วงก่อนที่จะมีลิขสิทธิ์การ์ตูน แต่ปัจจุบัน สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ เป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์แต่เพียงผู้เดียว ส่วนฉบับอะนิเมะ ออกอากาศทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. หรือโมเดิร์นไนน์ทีวี ในปัจจุบัน และวางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดี-ดีวีดี ลิขสิทธิ์โดยบริษัทโรส มีเดีย

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และสัมพันธ์กับโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรมในอดีต

การก่อตั้งโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม

การศึกษาวิชากฎหมายในประเทศไทยแต่เดิมมานั้น ไม่มีโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยกฎหมาย เป็นการศึกษาโดยการสั่งสอนสืบเนื่องต่อ ๆ กันมาจากผู้มีความรู้เชี่ยวชาญและสนใจในวิชาด้านนี้ และมิได้มีการศึกษากันแพร่หลาย มีความเชี่ยวชาญกันตามลักษณะหน้าที่การงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ที่มาแห่งการศึกษาทางกฎหมายในสมัยนั้นคงมาจากพวกอาลักษณ์ลูกขุน ราชบัณฑิตและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในทางคดี และกฎหมายนั้นก็มีอยู่น้อยฉบับ มีสมบูรณ์แต่เพียงของหลวง 3 ฉบับเท่านั้น

ต่อมาเมื่อเสด็จในกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ครั้งยังดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ได้ทรงรับตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม พระองค์จึงได้ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้น เมื่อพุทธศักราช 2540 แต่ก็ยังไม่ปรากฏฐานะในทางราชการอย่างใด เป็นแต่ได้มีประกาศแจ้งความกำหนดการสอบไล่แก่นักเรียนกฎหมายลงในราชกิจจานุเบกษา ของทางราชการเท่านั้น (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 14 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน ร.ศ. 116 หน้า 530) สถานที่ตั้งของโรงเรียนกฎหมายในสมัยนั้นใช้ห้องเสวย ซึ่งอยู่ติดกับห้องเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเป็นที่สอน กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม เป็นผู้ทรงสั่งสอนด้วยพระองค์เอง หลังจากเสวยพระกระยาหารกลางวันแล้ว ต่อมาเมื่อมีนักเรียนเพิ่มมากขึ้นจึงได้ขยับขยายไปที่ตึกสัสดีหลังกลาง

ครั้นเมื่อกรมหลวงราชบุรีฯ ทรงพ้นจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ในปี 2453 แล้ว โรงเรียนกฎหมายก็ทรุดโทรมลง ซึ่งอาจเป็นเพราะผู้ที่มาดำรงตำแหน่งเสนาบดีแทนไม่ใช่เนติบัณฑิต หรือไม่ใช่อาจารย์ของเนติบัณฑิตนั่นเอง จึงเกิดความขัดข้องในเรื่องโรงเรียนกฎหมายขึ้น โรงเรียนกฎหมายของกรมหลวงราชบุรีฯ ต้องระเหเร่ร่อนไปอาศัยวัดมหาธาตุชั่วคราว แล้วย้ายไปที่เรือนไม้หลังเล็กๆ ระหว่างตึกศาลแพ่งกับตึกเก๋งจีน บัดนี้ได้รื้อไปไม่เห็นซากแล้ว เวลาสอบไล่ก็ไปอาศัยทำการสอบที่ระเบียงวัดพระแก้ว ต่อมาใน พ.ศ. 2454 (ร.ศ. 130) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทะนุบำรุงให้เป็นโรงเรียนหลวงสังกัดอยู่ในกระทรวงยุติธรรม และให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้รับผิดชอบ และได้ย้ายสถานที่มาตั้งอยู่ ณ ตึกกรมประชาสัมพันธ์เดิมที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา

การรับโอนโรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรมมายังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เมื่อเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองแผ่นดินแล้ว ได้มีคำแนะนำต่อรัฐบาลให้รวมการศึกษากฎหมายเข้าอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งยังไม่มีการสอนกฎหมายเพื่อให้ประกาศนียบัตรสำหรับวิชากฎหมายโดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยนั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะนิติศาสตร์ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และให้โอนโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรมไปสมทบกับคณะนิติศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2476 เมื่อได้โอนโรงเรียนกฎหมายไปจากกระทรวงยุติธรรมแล้ว ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดให้โรงเรียนกฎหมายเป็นแผนกนิติศาสตร์ในคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ผู้ที่สำเร็จหลักสูตรวิชานิติศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสมัยนั้นได้รับเพียงประกาศนียบัตร ถ้าต้องการจะเป็นเนติบัณฑิตก็ต้องไปสมัครเป็นสมาชิกของเนติบัณฑิตยสภาอีกชั้นหนึ่ง จึงจะเรียกว่า เนติบัณฑิตได้

การโอนโรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรมไปยังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นการโอนเพียงชั่วคราวไม่ถึงปี เนื่องจากในปีต่อมา (พ.ศ. 2476) ได้มีการตราพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. 2476 ให้โอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ซึ่งสังกัดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาตั้งเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง เพื่อให้เป็นสถาบันการศึกษาที่ประชาชนได้มีโอกาสศึกษาวิทยาการอย่างกว้างขวางและนำความรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง ในครั้งนั้น ท่าน ดร. ปรีดี พนมยงค์ ดำรงตำแหน่งผู้ประศาสน์การ ในฐานะที่เป็นผู้ร่างโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนี้ขึ้น ทั้งนี้ โดยดัดแปลงอาคารเก่าซึ่งใช้เป็นที่เก็บอาวุธยุทธภัณฑ์ของกรมช่างแสงทหารบก ในบริเวณวังหน้าท่าพระจันทร์ ใช้เป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยมาจนทุกวันนี้ มีการสร้างโดมคลุมหลังคาซึ่งเป็นตึกที่สูงเด่นแห่งหนึ่งของพระนครในเวลานั้น ตึกโดมซึ่งเป็นรูปปลายแหลมเหมือนกับปลายดินสอ นี้มีผู้แปลความหมายว่าเป็นสัญลักษณ์ของแม่โดม ที่ผลิตลูกออกมาเป็นชาวธรรมศาสตร์ ผู้มีสติปัญญาเฉียบแหลมประดุจปลายดินสอฉะนั้น

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองได้เริ่มทำพิธีเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2477 วันนั้นพอดีเป็นวันตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 7 ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญชั่วคราว จึงมีผู้กล่าวว่า ประชาธิปไตยของเมืองไทยได้เริ่มฝังรากอยู่ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นี้เอง ในวันพิธีเปิดมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2477 ฤกษ์เวลา 15.00 น. ท่าน ดร. ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การได้กราบทูลรายงานการก่อตั้งมหาวิทยาลัยต่อเสด็จในกรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งเสด็จมาเป็นประธานในพิธีท่ามกลางแขกผู้มีเกียรติทั้งชาวไทย และต่างประเทศ มีข้อความดังนี้
“ขอพระราชทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

วันนี้เป็นวันมงคลดิถีบรรจบพร้อมกัน 2 ประการ ประการหนึ่ง วันที่ 27 มิถุนายนนี้ เป็นวันพระราชทานรัฐธรรมนูญชั่วคราวแห่งพระราชอาณาจักรสยาม ประการที่สอง มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ได้พยายามเร่งรัดการงานจนสามารถเปิดได้ในวันนี้ เพื่อดำเนินการสอนวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองตามพระราชบัญญัติที่ได้ประกาศตั้งมหาวิทยาลัยนี้ขึ้นให้ทันในวันที่ 1 กรกฎาคม นี้ การตั้งสถานศึกษาตามลักษณะของมหาวิทยาลัย ย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์และเป็นปัจจัยในการแสดงความก้าวหน้าของประเทศ ประชาชนชาวสยามจะเจริญในอารยธรรมการศึกษาอันดี ตั้งแต่ชั้นต่ำตลอดจนถึงการศึกษาชั้นสูง เพราะฉะนั้น ในการที่จะอำนวยความประสงค์และประโยชน์ของราษฎรในสมัยนี้จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาให้ครบบริบูรณ์ทุกชั้น มหาวิทยาลัยย่อมอุปมาประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎรผู้สมัครแสวงหาความรู้อันเป็นสิทธิและโอกาสที่เขาควารมีควรได้ ตามหลักแห่งเสรีภาพในการศึกษา รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรเห็นความจำเป็นในข้อนี้ จึงได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้น ในปัจจุบันนี้ ประเทศสยามมีความประสงค์อันยิ่งใหญ่ที่จะปรับระดับการศึกษาของราษฎรให้ถึงขนาดเหมาะแก่กาลสมัย ถ้าระดับการศึกษายังไม่เจริญถึงขนาดตราบใดความก้าวหน้าของประเทศ ก็ยังจะเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นอีกนาน ยิ่งในสมัยที่ประเทศของเราดำเนินการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญเช่นนี้แล้ว เป็นการจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมหาวิทยาลัยสำหรับประศาสน์ความรู้ในวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองแก่พลเมืองให้มากที่สุดที่จะเป็นได้ เปิดโอกาสให้แก่พลเมืองที่จะใช้เสรีภาพในการศึกษากว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติสืบต่อไป…” เมื่อผู้ประศาสน์การกล่าวรายงานเสร็จแล้วผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ทรงกล่าวตอบมีความตอนหนึ่งว่า

“ข้าพเจ้าเห็นสอดคล้องต้องถ้อยคำที่ท่านกล่าวมาว่า สมัยนี้ประเทศของเราจะต้องเผยแพร่วิชาธรรมศาสตร์และการเมืองให้แพร่หลาย เพื่อปวงชนจะได้รับทราบความเป็นไปในบ้านเมืองซึ่งทุกคนเป็นเจ้าของ ข้าพเจ้าขอเปิดมหาวิทยาลัยนี้ ด้วยสัจจาธิษฐานขออำนาจพระรัตนตรัยจงได้คุ้มครองมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พร้อมทั้งอาจารย์และนักศึกษาทั้งหลายตลอดจนเจ้าหน้าที่ดำเนินการ ขอให้มหาวิทยาลัยนี้มั่นคงถาวรยืนนาน บรรลุถึงความสำเร็จอย่างไพศาลสมบูรณ์ ขอให้นักศึกษามีความรุ่งเรืองสามารถจะกระทำกิจอันเป็นประโยชน์แก่ชาติและประเทศต่อไปข้างหน้าเทอญ”
นี่คือความหลังในวันพิธีเปิดมหาวิทยาลัยของพวกเรา และพวกเราได้ใช้เป็นที่ศึกษาตลอดมาจนทุกวันนี้

ธรรมศาสตร์บัณฑิต (ธ.บ.)

หลักสูตรปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองในสมัยนั้น ไม่ได้แยกเป็นคณะต่าง ๆ อย่างสมัยนี้ สมัยนั้นมีแต่ธรรมศาสตร์บัณฑิต ซึ่งเรียกโดยย่อว่า ธ.บ. โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 6 ภาค ภาค 1 ถึง ภาค 4 เป็นการศึกษาวิชากฎหมายโดยเฉพาะซึ่งได้แก่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป ธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายการเลือกตั้ง กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยทรัพย์ กฎหมายอาญา วิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยทรัพย์ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการประกันด้วยบุคคลและทรัพย์ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ จ้างแรงงาน จ้างทำของ รับขน กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้าประนีประนอม การพนันและขันต่อ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวแทน นายหน้า จัดการงานนอกสั่ง กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยบัญชีเดินสะพัด ตั๋วเงินประกันภัย กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัทและสมาคม วิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายลักษณะพยานและจิตวิทยา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัวและมรดก กฎหมายลักษณะล้มละลาย

ส่วน ภาค 5 และภาค 6 นั้น ศึกษาวิชาเกี่ยวกับการเมือง คือ สิทธิเศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์ กฎหมายการคลัง กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง คดีบุคคล คดีอาญา กฎหมายปกครอง และระเบียบวิธีปฏิบัติราชการของทบวงการเมือง

ส่วนการศึกษาในชั้นปริญญาโทนี้ได้แยกออกเป็น 4 สาขา คือ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ และการทูต

อาจารย์ทวี กสิยพงศ์ ได้เขียนเล่าความหลังไว้ในจุลสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 17 เดือนมิถุนายน 2519 ว่า

“ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าได้มีโอกาสพบกับท่านผู้ประศาสน์การ ได้เรียนถามท่านถึงความคิดที่วางหลักสูตรธรรมศาสตร์บัณฑิตขึ้นในสมัยนั้นว่าท่านมีความประสงค์อย่างไร ท่านผู้ประศาสน์การได้กรุณาชี้แจงให้ฟังว่าหลักสูตร ธ.บ. ที่วางไว้นั้น ได้คำนึงถึงการที่จะให้นักศึกษาที่สำเร็จไปมีโอกาสประกอบอาชีพได้อย่างกว้างขวง โดยมิให้จำกัดอยู่เพียงวิชาทางกฎหมาย แต่อย่างเดียวเพราะว่าอาชีพนี้มีจำกัดอยู่เฉพาะผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ หรือที่ปรึกษากฎหมายเท่านั้น ท่านต้องการให้จบปริญญา ธ.บ. สามารถเลือกอาชีพได้โดยกว้างโดยจะไปเป็นอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้ เป็นนายตำรวจ สหกรณ์หรือเจ้าหน้าที่ในกระทรวงการคลัง การเศรษฐกิจ การทูต หรือจะรับราชการในกระทรวงได้เรียนระเบียบปฏิบัติราชการทุกกระทรวง รวมทั้งอยากจะไปทำการค้าก็ได้ เพราะเรียนรู้หลักเศรษฐศาสตร์แล้ว ท่านบอกว่าท่านภูมิใจเหลือเกินที่ลูกศิษย์ลูกหาชาวธรรมศาสตร์ของท่านมีอยู่ในทุกสาขาอาชีพ แม้แต่ผู้ที่เรียนไม่จบปริญญา ก็ยังสามารถใช้ความรู้ทางวิชาดนตรีที่ร่ำเรียนเตรียมปริญญาเป็นหัวหน้าดนตรีได้ และการที่ท่านวางหลักสูตรให้นักศึกษาชั้นปริญญาตรีทุกคนได้วิชาเศรษฐศาสตร์ และลัทธิเศรษฐกิจด้วยนั้น ก็โดยมีเหตุผลว่ามนุษยชาติที่อยู่ร่วมกันในสังคมนั้นต้องมีเศรษฐกิจเป็นรากฐานนักกฎหมายต้องรู้หลักเศรษฐกิจด้วย เพื่อจะได้รู้ถึงพื้นฐานของสังคม กฎหมายที่ออกมาก็ต้องคำนึงถึงพื้นฐานทางเศรษฐกิจของสังคม เพราะฉะนั้นท่านจึงเห็นว่านักกฎหมายจะต้องเรียนรู้หลักเศรษฐศาสตร์ควบคู่กันไปด้วย”

มหาวิทยาลัยได้แก้ไขปรับปรุงการศึกษาให้เหมาะสมกาลสมัยเรื่อย ๆ มา หลักสูตรที่เคยศึกษาเป็นภาคก็ได้เปลี่ยนแปลงโดยกำหนดหลักสูตรให้มีระยะเวลาการศึกษา 4 ปี ผู้สำเร็จหลักสูตร 4 ปี เรียกว่าธรรมศาสตร์บัณฑิต ในขณะที่ผู้ที่ศึกษาสอบได้ครบทุกวิชาปีที่ 1 - 3 ก็ได้รับอนุปริญญาลักษณะวิชาต่าง ๆ ที่ศึกษาในแต่ละปี ในขณะนั้น การสำเร็จการศึกษาธรรมศาสตร์บัณฑิตต้องมีการสอบปากเปล่าด้วย โดยนักศึกษาที่สอบเขียนได้ครบทุกลักษณะวิชาในปีที่ 1-3 แล้ว ต้องเข้าสอบปากเปล่าในวิชากฎหมายทั้งหมดที่ได้ศึกษามาแล้ว เมื่อสอบปากเปล่าผ่าน (โดยได้คะแนนตั้งแต่ 50 ในร้อย) จะเข้าเรียนในปีที่ 4 ต่อไป
กำเนิดคณะนิติศาสตร์และนิติศาสตร์บัณฑิต

ต่อมาใน พุทธศักราช 2492 ได้มีการปรับปรุงครั้งใหญ่ในมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง กล่าวคือ ได้แบ่งแยกการศึกษาธรรมศาสตร์บัณฑิตที่มีอยู่แต่เดิม มาเป็นการศึกษาแยกตามคณะ 4 คณะที่ได้จัดตั้งขึ้นมาใหม่ คือ คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี อันเป็นที่มาของหลักสูตรปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ ซึ่งยังคงแบ่งเป็น 4 ปี จะเห็นได้ว่าการศึกษาวิชากฎหมายได้วิวัฒนาการเรื่อยมาจนเป็นคณะนิติศาสตร์ ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน พุทธศักราช 2492 เมื่อได้มีชื่อใหม่ว่า “คณะนิติศาสตร์” การดำเนินงานทั้งด้านวิชาการ และธุรการก็ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมขึ้นอีก ที่สำคัญคือ ได้มีการปรับปรุงหลักสูตร โดยเริ่มวิชาภาษาต่างประเทศและเน้นหนักไปในทางปฏิบัติให้เหมาะสมแก่การประกอบอาชีพในทางกฎหมายโดยเฉพาะ เมื่อศึกษาปีที่ 4 สำเร็จแล้ว จึงได้ปริญญาตรีเป็นนิติศาสตร์บัณฑิต

สำหรับผู้ที่มีชื่อในทะเบียนก่อนสมัยการศึกษา พุทธศักราช 2492 คงมีสิทธิสอบไล่ตามหลักสูตรเดิม (ธรรมศาสตร์บัณฑิต) แต่อาจขอเปลี่ยนศึกษาตามหลักสูตรใหม่ของคณะหนึ่งคณะใดได้ โดยขอเทียบวิชาที่สอบไล่ได้แล้ว การศึกษาตามหลักสูตรธรรมศาสตร์บัณฑิตเดิมได้เลิกไปเป็นการถาวรในปี พ.ศ. 2496
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2495 หลักสูตรปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ได้ปรับปรุงใหม่อีกครั้งหนึ่งโดยยกเลิกบางวิชาและเพิ่มบางวิชา ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 ก็มีการปรับปรุงหลักสูตรครั้งใหญ่ โดยมีวิชาเรียนดังนี้

ปีที่ 1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป กฎหมายปกครองกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายเลือกตั้งประวัติศาสตร์กฎหมายกฎหมายอาญา ภาคต้นกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บุคคลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยทรัพย์ภาษาต่างประเทศ
ปีที่ 2
กฎหมายอาญา ภาคกลางกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยนิติกรรมและสัญญากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหนี้ละเมิดลาภมิควรได้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยประกันภัยบุคคล และทรัพย์กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยยืมฝากทรัพย์เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอม การพนันขันต่อกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ จ้างแรงงาน จากทำของ รับขนกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยครอบครัวกฎหมายที่ดินภาษาต่างประเทศ
ปีที่ 3
กฎหมายอาญา ภาคปลายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยบัญชีเดินสะพัด ตั๋วเงิน ประกันภัยกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัทสมาคมกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยตัวแทน นายหน้า จัดการงานนอกสั่งกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยมรดกธรรมนูญศาลยุติธรรมกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และกฎหมายล้มละลายกฎหมายลักษณะพยาน และจิตวิทยาภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ หรือภาษาฝรั่งเศล)
ปีที่ 4
กฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีเมืองกฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคลหลักเศรษฐศาสตร์ทั่วไปกฎหมายสารบัญญัติ (บางลักษณะ)

พระราชบัญญัติข้าราชการตุลาการ พระราชบัญญัติอัยการ พระราชบัญญัติทนายความ เหมืองแร่ ป่าไม้ การประมง สำหรับนักศึกษาหลักสูตรธรรมศาสตร์บัณฑิตเดิมที่เรียนยังไม่สำเร็จในพุทธศักราช 2496 ก็ให้โอนมาเรียนหลักสูตรคณะนิติศาสตร์และสอบเก็บวิชาจนครบตามหลักสูตรใหม่ของคณะนิติศาสตร์ที่ได้ปรับปรุงใหม่ข้างต้น

ด้วยมหาวิทยาลัยมีวัตถุประสงค์จะพัฒนาโครงการศึกษา เพื่อให้นักศึกษาชั้นปริญญาตรีมีความรู้ภาษาต่างประเทศและความรู้ทั่วไปในด้านวิทยาศาสตร์ (Natural Sciences) สังคมศาสตร์ (Social Sciences) และมนุษยศาสตร์ (Humanities) ขึ้นอยู่ในระดับสูงเพียงพอที่จะเข้ารับการศึกษาในแขนงวิชาเฉพาะแต่ละด้าน ซึ่งแบ่งสอนอยู่ในคณะต่าง ๆ ดังนั้นในปี พ.ศ. 2505 จึงได้มีข้อบังคับให้นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ต้องไปศึกษาวิชาปีที่ 1 ที่คณะศิลปศาสตร์ก่อน การที่นักศึกษาได้มีความรู้ทั่วไปในวิชาศิลปศาสตร์ดังกล่าว ก่อนที่จะเข้าศึกษาวิชาเฉพาะที่คณะนิติศาสตร์นั้นย่อมเป็นประโยชน์แก่นักศึกษา เพราะทำให้มีความรู้กว้างขวาง มีความเข้าใจธรรมชาติ และจิตใจมนุษย์เป็นพื้นฐานอย่างดี ในการศึกษาต่อไป

การเริ่มใช้ระบบหน่วยกิต

ในปี พ.ศ.2514 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ปรับปรุงหลักสูตรและข้อบังคับของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยนำระบบหน่วยกิตและการวัดผลแบบใหม่เข้ามาใช้ในมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นผลให้คณะนิติศาสตร์ได้กำหนดหลักสูตรและข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรีของคณะนิติศาสตร์ เพื่อให้สอดคล้องกับระบบของมหาวิทยาลัย ยกเว้นวิธีการวัดผลการศึกษาซึ่งยังใช้ระบบคะแนนดังเดิม
ในส่วนที่เกี่ยวกับหลักสูตรก็ได้ปรับเปลี่ยนเป็นระยะเพื่อให้เนื้อหาของวิชาต่าง ๆ เหมาะสมกับกาลสมัยมากยิ่งขึ้น เช่น ในสมัยที่ท่านศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาหลักสูตรปริญญาตรีของคณะนิติศาสตร์ ได้มีการเพิ่มวิชากฎหมายแพ่ง: หลักทั่วไป นิติปรัชญา หลักวิชาชีพนักกฎหมาย และกฎหมายแรงงานเข้าไว้ในหลักสูตรด้วย ส่วนวิชาซึ่งเคยศึกษาตั้งแต่เริ่มมีหลักสูตรนิติศาสตร์ ก็ได้ปรับปรุงให้มีเนื้อหาของวิชากว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อให้มีความสมดุล ทั้งทางด้านวิชาการและการฝึกฝนอบรมวิชาชีพนักกฎหมาย

นิติศาสตร์ภาคบัณฑิต

ในปี พ.ศ.2515 คณะนิติศาสตร์ได้เปิดหลักสูตรนิติศาสตร์สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีจากสาขาอื่นมาแล้ว เรียกว่า "หลักสูตรชั้นปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต" โดยเข้าศึกษาเฉพาะวิชาบังคับ ตามหลักสูตรชั้นปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 ของคณะนิติศาสตร์ ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรนี้มีศักดิ์และสิทธิเป็น "นิติศาสตร์บัณฑิต" แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสมอกัน
การพัฒนาอาจารย์คณะนิติศาสตร์

คณะนิติศาสตร์ มีโครงการพัฒนาคณะให้ก้าวหน้าขึ้นไปตามลำดับ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 เป็นต้นมา คณะได้เริ่มสร้างอาจารย์ประจำ โดยการคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้ามารับราชการเป็นอาจารย์ประจำ และได้จัดสรรทุนการศึกษาสำหรับส่งอาจารย์ไปศึกษาวิชานิติศาสตร์ในระดับสูงในต่างประเทศ ในระยะเริ่มต้นคณะได้รับการจัดสรรทุนธรรมศาสตร์และทุนจากสมาคมธรรมศาสตร์ ให้อาจารย์คณะนิติศาสตร์ เพื่อไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกโดยมีวัตถุประสงค์ให้กลับมารับราชการเป็นอาจารย์ประจำที่คณะนิติศาสตร์ ต่อมา ในปี พ.ศ. 2522 คณะนิติศาสตร์ได้รับทุนการศึกษาจากแหล่งต่าง ๆ หลายแห่ง อาทิเช่น ทุน ก.พ. ทุนโอเซี่ยนนิคและสุวรรณมาศ ทุนรัฐบาลฝรั่งเศส เป็นต้น ในปัจจุบัน คณะนิติศาสตร์มีอาจารย์ที่สำเร็จการศึกษาจากประเทศในหลายทวีป โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศฝรั่งเศส เยอรมัน สหราชอาณาจักร อิตาลี สเปน สหรัฐอเมริกา คานาดา และญี่ปุ่น
บัณฑิตศึกษา

โดยที่คณะนิติศาสตร์มีคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิเพียบพร้อมมากมายหลายด้าน คณะนิติศาสตร์จึงได้เปิดหลักสูตรปริญญาโท (นิติศาสตร์มหาบัณฑิต) ขึ้น และได้ปรับปรุงหลักสูตรนี้โดยตลอด การปรับปรุงครั้งล่าสุดมีขึ้นในปี พ.ศ. 2544 ผลจากการปรับปรุงครั้งนี้ทำให้ในปัจจุบันหลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิตมีสาขาถึง ๘ สาขา คือ สาขากฎหมายเอกชน สาขากฎหมายอาญา สาขากฎหมายมหาชน สาขากฎหมายระหว่างประเทศ สาขากฎหมายธุรกิจ สาขากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ สาขากฎหมายภาษี และสาขากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนอกจากหลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ยังมีหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชนและหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายธุรกิจอีกด้วย

สำหรับหลักสูตรปริญญาเอก (นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต) คณะนิติศาสตร์ก็ได้ดำเนินการมานานแล้ว และได้มีการปรับปรุงหลักสูตรในปี พ.ศ. 2539 ที่ผ่านมาคณะนิติศาสตร์ได้วางแผนงานพัฒนาทุก ๆ ด้านให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทางด้านบุคลากร อาคารสถานที่และหลักสูตร โดยคำนึงถึงหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคม และมีเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและเป็นศูนย์กลางทางวิชากฎหมายอย่างแท้จริง